ความอิสระและมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ
การ "สัก" เป็นหนึ่งในศิลปะที่ใครหลายคนเลือกนำมาสร้างเอกลักษณ์และความโดดเด่นไม่ซ้ำใคร
เปรียบเสมือนลายนิ้วมือที่มีความชัดเจนของแต่ละบุคคล ผู้ออกแบบจึงเลือกใช้รูปแบบการสักและรอยนิ้วมือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบผลงานชิ้นนี้
ดร. ดนัย เรียบสกุล ผ่านเข้ารอบ 100 ผลงาน โครงการไทยใส่สบาย
โครงการประกวดออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมสมัย จัดโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันการสร้างคน สร้างสังคม พร้อมเผยแพร่ภาพลักษณ์ภูมิปัญญาผ้าไทยผ่านงานวัฒนธรรมสู่สายตาชาวไทยและต่างชาติ
และสนับสนุนความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานของนักออกแบบไทยให้มีเวทีในการแสดงฝีมือและศักยภาพของตนเอง
โดยงานจัดขึ้นวันที่ 9 พฤษภาคม 2560 ณ ไลฟ์สไตล์ ฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน
การแต่งกายไทย เป็นแรงบันดาลใจหลักของการออกแบบครั้งนี้
เนื่องด้วยการแต่งกายถือเป็นวิถีชีวิตอย่างหนึ่งของไทย ที่มีความเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์หลักของ MC JEANS
ซึ่งภาพลักษณ์ของ MC จะนำเสนอความทันสมัย แข็งแรง ซึ่งน่าสนใจที่จะนำมาประยุกต์ร่วมกับความงดงาม
อ่อนช้อยแบบไทยนำเสนอผ่านเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ โดยใช้การพับและการสานลักษณะต่างๆ
ดร. ดนัย เรียบสกุล นำเสนอชุดไทยละครตัวนางที่สร้างสรรค์ด้วยเศษผ้ายีนส์
ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทยไทยที่นำความแตกต่างของสองสิ่งมาผสมผสานกันอย่างลงตัว งดงาม ประณีต
ตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้าโดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ MC Smart ที่คัดเลือกผลงานรักษ์โลกด้วยเศษผ้า
ออกแบบและตัดเย็บให้มีคุณค่าและสื่อเรื่องราววิถีชีวิตด้านการแต่งกาย
ผลงานใช้เวลา 1 เดือน ด้วยเทคนิคการเย็บต่อผ้า การตัด ฉลุ ซึ่งขนาดเล็กที่สุดมีขนาด 5 มิลลิเมตร
ผู้ออกแบบเน้นย้ำให้คนรุ่นใหม่รู้จักการแต่งกายไทย และประยุกต์องค์ประกอบของชุดไทยมาใช้ในชีวิตประจำวัน
และยังเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ความเป็นไทย "ผู้ออกแบบยังมั่นใจว่า Culture สามารถอยู่ร่วมกับ Fashion
ได้ทุกยุค ทุกสมัย" อนึ่ง ผลงานดังกล่าวได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 Fashion Lifestyle ประเภทเดี่ยว
คว้าเงินรางวัล 20,000 บาท โดยเข้ารับรางวัล เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร
ดร.ดนัย เรียบสกุล ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี ประจำปี 2558 ชื่อวิทยานิพนธ์ เรื่อง การพัฒนากระบวนการออกแบบชุดประจำชาตินางงามไทยสำหรับการนำเสนอระดับนานาชาติ ซึ่ง ดร.ดนัย มองเห็นถึงองค์ความรู้ด้านการออกแบบที่เน้นการผสมผสานแนวความคิดในการออกแบบยุคใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และนำเอาเอกลักษณ์และความโดดเด่นของไทยมาสร้างสรรค์เป็นเสื้อผ้า แม้ความรู้จะไม่หยุดนิ่ง แต่การออกแบบที่คำนึงถึงความพองาม และพอดีก็เป็นจุดสำคัญในการออกแบบ เพื่อที่ประเทศไทยจะได้รับการยอมรับในด้านแฟชั่น และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่งดงามแบบไทยทั้งนี้มีพิธีมอบรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค (ฮอลล์ 9) เมืองทองธานี นนทบุรี
ดร.ดนัย เรียบสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับโล่เกียรติยศ "บุคลากรดีเด่น มหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปี 2559" ในงานวันสถาปนามหาวิทยาลัยนเรศวร ครบรอบ 26 ปี วันที่ 29 ก.ค. 59 ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านงานสอนและงานวิจัย มุ่งมั่นอุทิศตน เพื่องานวิจัยอย่างจริงจัง เผยแพร่ผลงานทั้งในระดับภูมิภาค และระดับชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผู้ดำเนินโครงการอาภรณ์ 1 - 3 ตั้งแต่ปี 2555 - 2558 เพื่อให้ความรู้และจัดแสดงเครื่องแต่งกายของสตรีรูปแบบต่างๆ เช่น ชุดประจำชาตินางงามไทย การแต่งกายของสตรีจากประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่มีความงดงามและหาชมได้ยาก เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และสร้างแรงบันดาลใจในการเลือกใช้และออกแบบเครื่องแต่งกาย
ดร.ดนัย เรียบสกุล ได้รับรางวัลอาจารย์ที่ปรึกษาดีเด่นและสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีการศึกษา 2559 มอบให้ในวันไหว้ครูมหาวิทยาลัยนเรศวร วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก